แนวทางการรักษาโรคเส้นเอ็นไหล่อักเสบเบื้องต้น พร้อมข้อดีข้อเสียของการรักษามาฝากเพื่อนๆได้เลือกการรักษาที่เหมาะสมกับตัวเองได้เลยค่ะ โดยวิธีการรักษามีดังนี้
- ยารับประทาน หรือฉีดยาเข้าไปที่ข้อไหล่
- พักการใช้งานข้อไหล่ หรือ หยุดพักการใช้ข้อไหล่ อาจใช้ผ้าคล้องแขนไว้ แต่ไม่ควรหยุดใช้ไหล่เกิน 2 - 3 วันเพราะจะทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดแข็งได้
- ประคบด้วยความร้อน โดยใช้ถุงน้ำร้อน ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น หรือ ใช้ยานวดแก้ปวด แต่ในบางภาวะควรประคบเย็น ถ้าไปประคบร้อนอาการปวดระบมจะมากขึ้นได้ เช่น การอักเสบมี Calcific tendinitis ( มีแคมเซียมในเส้นเอ็น ) หรือจากอุบัติเหตุต้องเลือกประคบเย็น
- ทำกายภาพบำบัด บริหารข้อไหล่ เพื่อลดอาการปวด และฟื้นฟูสภาพให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
- รับการผ่าตัด อย่างเช่นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด ข้อไหล่เสื่อม ข้อไหล่ติด หรือข้อไหล่หลุด โดยปัจจุบันสามารถใช้การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยลดการบาดเจ็บ แผลเล็ก ฟื้นตัวไว สามารถกลับไปใช้งานไหล่และแขนได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติเร็วขึ้น
ข้อดีของการรักษาแบบไม่ผ่าตัด
สามารถหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดได้ เช่น ภาวะติดเชื้อ ภาวะไหล่ติด ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยา ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยในการผ่าตัดแบบส่องกล้องเย็บกรอหินปูนและเย็บซ่อมเส้นเอ็นหัวไหล่
ข้อเสียของการรักษาแบบไม่ผ่าตัด
ขนาดของเส้นเอ็นที่ฉีกขาดอาจขยายขนาดใหญ่ขึ้น อาจมีการจำกัดการใช้งานในบางท่า กำลังของการใช้งานอาจลดลง
ฉะนั้น อย่าละเลยอาการปวดอย่างเด็ดขาด เมื่อมีอาการปวดแบบไม่พึงประสงค์หรือดังที่กล่าวไว้เบื้องต้น ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและวางแผนการรักษาก่อนที่อาการจะลุกลาม
ติดต่อ MRC ได้ที่
064-259 0302 , 097-214 3175
Line @mrccenter
Website : https://www.mrc.in.th/
18, 74/56 ซอยนวมินทร์ 85 ถนนนวมินทร์ แขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ
Google map : https://maps.app.goo.gl/3ZhTe4NrNeRosrwy6