โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่เกิดจากโครงร่างกระดูก หรือว่าเนื้อกระดูกมีความบางลง เกิดจากกิจกรรมของกระดูก ที่ปกติจะมีทั้งการสร้างและการทำลาย พอมีการเสียสมดุลมีการทำลายมากกว่าการสร้าง ก็จะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้
โดยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ให้เกิดโรคกระดูกพรุน คือ
- ผู้หญิงวัย 65ปี
- ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 กก/ตรม
- ภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ประจำเดือนหมดเร็วก่อนอายุ 45 ปี หรือถูกตัดรังไข่ทั้งสองด้าน
- ส่วนสูงลดลงมากกว่า 4 ซม
- มีประวัติกระดูกหักง่ายมาก่อน
- ขาดอาหารในวัยรุ่น ขาดวิตามินดี หรือรับประทานแคลเซี่ยมไม่เพียงพอ
- ขาดการออกกำลังกาย
- ได้รับยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ หรือ ยาต้านมะเร็งเต้านมบางชนิด
- โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน , hyperthyroidism , hyperparathyroidism
ข้อบ่งชี้การตรวจมวลกระดูก
- ผู้หญิงอายุ 65 ปี และผู้ชายอายุ70 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงหมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปีรวมถึงกรณีตัดรังไข่ทั้งสองด้าน
- ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำต่อเนื่องมากกว่า 1 ปีก่อนหมดประจำเดือนเช่นได้รับฮอร์โมนบางชนิดหรือออกกำลังกายอย่างหนัก
- ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี และผู้ชายอายุน้อยกว่า70 ปี ที่มีปัจจัยเสี่ยง
- ได้รับสเตียรอยด์มากกว่า 5 มก/วัน มากกว่า 3 เดือนขึ้นไป
- บิดามารดาเคยกระดูกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง
- ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 กก/ตรม
- ส่วนสูงลดลงมากกว่า 4 ซมเทียบกับส่วนสูงที่เคยสูงสุด หรือลดลง มากกว่า 2 ซมจากบันทึกการวัดส่วนสูง 2 ครั้ง
- ผู้หญิงหรือผู้ชายที่ได้รับยาต้านฮอร์โมนบางชนิด
- ภาพรังสีแสดงภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกสันหลังผิดรูป
- มีประวัติกระดูกหักยุบแบบไม่รุนแรง
5. ก่อนเริ่มยาหรือติดตามการรักษากระดูกพรุน
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
- กระดูกสันหลังหรือกระดูกสะโพกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง
- มีค่า T-score น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.5 ที่กระดูกสะโพก เอว หรือ ข้อมือ
- มีค่า T-score ระหว่าง -1 และ -2.5 ร่วมกับความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสะโพกหักในช่วงเวลา 10 ปี ซึ่งประเมินโดย Fracture Risk Assessment Tool ( FRAX) ของประเทศไทยมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 3
- มีค่า T-score ระหว่าง -1 และ -2.5 ร่วมกับ มีกระดูกหักตำแหน่ง ต้นแขน ปลายแขน หรือเชิงกรานจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง
หมายเหตุ
- ต้องตรวจด้วยเครื่อง central dual energy x ray absorptiometry (DXA) มาตรฐานเท่านั้น
- อุบัติเหตุไม่รุนแรงหมายถึง กระดูกหักที่เกิดจากการตกจากระดับความสูงที่ไม่เกินความสูงของผู้ป่วย
ข้อบ่งชี้ตรวจประเมินกระดูกสันหลังหักแบบไม่มีอาการ
- T-score น้อยกว่า -1 ร่วมกับ
- ผู้หญิง 70 ผู้ชาย 80
- ประวัติความสูงลดลงเกิน 4 ซม
- ประวัติกระดูกหลังหักแต่ไม่มีหลักฐาน
- ได้รับสเตียรอยด์ ( prednisolone มากกว่า 5 มกเกิน 3 เดือน)
2. T-score น้อยกว่า -2.5
3. เคยมีกระดูกหักไม่รุนแรง
การซักประวัติ
กระดูกหักไม่รุนแรง เตี้ยลง อายุตอนหมดประจำเดือน โรคประจำต้วและยาที่ใช้ ประวัติกระดูกหักในบิดามารดา การสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา อาหารมีแคลเซี่ยมต่ำ ไม่ออกกำลังกาย ความเสี่ยงหกล้ม
การตรวจร่างกาย
ส่วนสูง น้ำหนัก BMI กระดูกหลังผิดรูป การทรงตัวและการเดิน การมองเห็น โรคทางอายุรกรรมต่างๆ
ตรวจทางห้องปฎิบัติการพื้นฐาน
Ca P alb CBC BUN Cr AST ALT ALP 25OHD 24hrUrine calcium( หลังได้รับ Ca,vitD แล้ว สัปดาห์เพื่อดู malabsorption and hypercalciuria)
เกณฑ์การวินิจฉัยกระดูกพรุน
การวินิจฉัย | ความหนาแน่นของกระดูก ( T- score) |
ปกติ | มากกว่า -1 |
กระดูกบาง ( low bone mass) | ระหว่าง -2.5 และ -1 |
กระดูกพรุน ( osteoporosis) | น้อยกว่า -2.5 |
กระดุกพรุนระดับรุนแรง ( established osteoporosis) | น้อยกว่า -2.5 |
กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
ความเสี่ยง | เกณฑ์ |
สูง | - กระดูกสันหลังหรือสะโพกหัก
- T-score น้อยกว่าหรือเท่ากับ -2.5
- ความเสี่ยงการเกิดสะโพกหักช่วงเวลา 10 ปี ที่ประเมินโดย FRAX ของไทยมีค่ามากกว่าร้อยละ 3
- T-score ระหว่าง -1 และ -2.5 ร่วมกับกระดูกหักตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่สันหลังหรือสะโพก
|
สูงมาก | - กระดูกสันหลังหรือสะโพกหักภายใน 12 เดือนในผู้ป่วยอายุ 65 ปีขึ้นไปที่มี T-score น้อยกว่าหรือเท่ากับ -2.5
- กระดูกสันหลังหักซ้ำหรือ 2 ระดับขึ้นไปที่มีความรุนแรงระดับปานกลางหรือรุนแรงมาก
- กระดูกสะโพกหัก 2 ด้านจากกระดูกพรุน กระดูกสะโพกหักและสันหลังหักจากกระดูกพรุน หรือกระดูกหักจากกระดูกพรุนซ้ำ 3ครั้งหรือ 3 ตำแหน่งขึ้นไป
- กระดูกหักจากกระดูกพรุนหลังการรักษาต่อเนื่อง 2 ปีขึ้นไป
- T-score น้อยกว่าหรือเท่ากับ -3.5
|
สรุปเสี่ยงสูง
- หลังหรือสะโพกหัก
- -2.5
- Osteopenia และFRAX มากกว่า 3
- Osteopenia ที่หักตรงอื่นไม่ใช่สะโพกหลัง
สรุปเสี่ยงสูงมาก
- -3.5
- อายุ 65 T-score -2.5 หักภายใน 12 เดือน
- หลังหักซ้ำหรือ 2 ระดับขึ้นไปที่ยุบเกิน 25 %ทั้งคู่
- สะโพก 2ด้าน หรือ สะโพกและหลัง หรือหัก3ครั้งหรือ 3ตำแหน่งขึ้นไป
- หักระหว่างรักษาแล้ว 2 ปี
...
การรักษา โรคกระดูกพรุน แบบไม่ใช้ยา
แคลเซี่ยม
- ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซี่ยมได้เองจึงต้องรับประทานให้เพียงพอ
- ปริมาณแคลเซี่ยมที่ควรได้รับ 800-1000 มกต่อวัน โดยการศึกษาคนไทยได้แคลเซี่ยมจากอาหาร 300-350 มกต่อวัน
- อาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง
นม โดยแนะนำให้ดื่มนมไขมันต่ำ 1-2 แก้วต่อวัน หากท้องเสียให้ค่อยๆเพิ่มปริมาณการดื่ม 1แก้วใน 2 สัปดาห์ ไม่ดื่มตอนท้องว่าง หรือเลือกนมที่ผ่านการย่อยแลคโตสแล้วบ้างเช่นนมเปรี้ยว
ปลาที่ทานทั้งกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้ ถั่ว ผักใบเขียว( บางชนิดมีสารไฟเตท หรือออกซาเลต ที่ยับยั้งการดูดซึมแคลเซี่ยม การผ่านความร้อนจะช่วยทำลายสารเหล่านี้ทำให้การดูดดซึมแคลเซี่ยมดีขึ้น )
ผักใบเขียวที่มีแคลเซี่ยมสูงและออกซาเลตต่ำ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ขี้เหล็ก ตำลึง บัวบก ถั่วพลู กระเจี้ยบเขียว
- แนะนำทานแคลเซี่ยมจากอาหารก่อนหากไม่พอจึงให้แคลเซี่ยมเสริม โดยแต่ละมื้อไม่ควรเกิน 500-600 มก
- ไม่แนะนำให้ทานแคลเซี่ยมเกิน 1500 มกต่อวัน ทั้งอาหารและยารวมกัน
- ชนิดแคลเซี่ยม
ชนิดแคลเซี่ยม | ปริมาณแคลเซี่ยม (ร้อยละ) | หมายเหตุ |
แคลเซี่ยมคาร์บอเนต | 40 | - ควรเลือกใช้ก่อนเพราะราคาถูกและมีแคลเซี่ยมต่อเม็ดมากสุด
- ต้องทานพร้อมอาหารเพราะต้องใช้กรดดูดซึม
- ท้องอืดท้องผูก แก้โดยลดแคลเซี่ยมต่อมื้อและเพิ่มมื้อ หรือใช้แบบเม็ดฟู่ หรือเปลี่ยนเป็นซิเตรทแทน
|
แคลเซี่ยมซิเตรท | 21 | - ไม่ต้องทานพร้อมอาหาร
- ใช้ในคนไข้ที่ทานยาลดกรดได้
|
แคลเซี่ยมเลคเตทกลูโคเนตและแคลเซี่ยมแอลทรีโอเนต | 13 |
|
แคลเซี่ยมกลูโคเนต | 9 | |
- หากมีนิ่วในไตให้ส่ง แคลเซี่ยมในปัสสาวะ 24 ชม ถ้าพบแคลเซี่ยมสูงให้ส่งตรวจ โซเดี่ยมในปัสสาวะ 24ชมต่อเพราะการทานโซเดี่ยมสูงเพิ่มการขับแคลเซี่ยม และรักษาด้วย hydrochlorothiazide หรือใช้แคลเซี่ยมซิเตรทแทน
วิตามินดี
- คุมระดับแคลเซี่ยมในร่างกาย ช่วยดูดซึมแคลเซี่ยมฟอสฟอรัสในลำไส้เล็ก ดูดกลับแคลเซี่ยมที่ไต
- 80-90% ได้จากสังเคราะห์ที่ผิวหนังจากแสงแดด น้อยมากจากอาหาร ( น้ำมันตับปลา แซลมอนธรรมชาติ)
- ระดับเหมาะสม 30-50 นก/มล วัดจากการตรวจ 25- hydroxy –vitamin D( 25OHD)
- มี 2 ชนิด D2 ได้จากพืช D3ได้จากสัตว์และสังเคราะห์ที่ผิวหนัง
- แนะนำให้เสริมวิตามินดี
D2 | D3 |
20000 U/Wk | 800-2000 U/day |
- พบวิตามินดีต่ำหรือกระดูกหักจากกระดูกพรุนแล้วไม่ได้ตรวจเลือดรักษา ให้ D2 40000-60000 U/wk 3 เดือนแล้วค่อยลดเหลือ 20000/wk
- ไม่ให้เสริมวิตามินดีด้วย วิตามินรวมเพราะมีปริมาณวิตามินเอสูงอาจเกิดพิษได้ โดยเฉพาะคนแก่ไตไม่ดี
ยารักษาโรคกระดูกพรุนในประเทศไทย
ยาต้านการสลาย | ยากระตุ้นการสร้างกระดูก |
Bisphosphonate | Teriparatide ( parathyroid hormone) |
Denosumab | Romosozumab |
Raloxifene |
|
Menopausal hormone therapy | |
Bisphosphonate
- ทำให้ osteoclast ตายและไม่สามารถสลายกระดูกได้ต่อไป
- ใช้เป็นยาหลักในคนไข้กลุ่มเสี่ยงสูง หรือกลุ่มเสี่ยงสูงมากที่ใช้ยากลุ่มกระตุ้นการสร้างกระดูกไม่ได้
- ใช้ต่อหลังจบ teriparatide, romosozumab, denosumab เพื่อกันการสลายกระดูก
ยา | การใช้ยา | ลดกระดูกหัก | ประเมินเสี่ยงต่ำเมื่อT-score>-2.5 และไม่มีกระดูกหัก | ประเมินเสี่ยงสูงเมื่อT-score<-2.5 หรือมีกระดูกหัก |
หลัง | สะโพก | อื่น |
Alendronate | 70 มก ทานสัปดาห์ละครั้ง | + | + | + | 5 ปี หยุดยาและติดตาม | 5ปีให้ต่อครบ10ปีหรือเปลียนยา |
Risedronate | 35 มก ทานสัปดาห์ละครั้ง | + | + | + |
| 5ปีให้ต่อครบ10ปีหรือเปลียนยา |
| 150 มก ทานเดือนละครั้ง | + | + | + |
| 5ปีให้ต่อครบ10ปีหรือเปลียนยา |
Ibandronate | 150 มก ทานเดือนละครั้ง | + |
| + |
| 5ปีให้ต่อครบ10ปีหรือเปลียนยา |
| 3 มก ฉีดเส้นเลือดดำช้ามากกว่า 30 วินาทีทุก 3 เดือน | + |
| + |
| 3ปีให้ต่อครบ6ปีหรือเปลียนยา |
Zoledronic acid | 5 มก ฉีดเส้นเลือดดำช้า 30 นาทีทุก 1 ปี | + | + | + | 3ปี หยุดยาและติดตาม | 3ปีให้ต่อครบ6ปีหรือเปลียนยา |
การดูดซึมยา :
- น้อยกว่า 1%
- อาหารขัดขวางการดูดซึมจึงต้องทานก่อนอาหาร 30 นาทีพร้อมน้ำ 1 แก้วและนั่งตรงเพื่อกันยาย้อนมาทำให้หลอดอาหารอักเสบ
- ดื่มน้ำ 1-2 แก้วก่อนและหลังฉีด ibandronate , zoledronic acid เพื่อกันภาวะแทรกซ้อนทางไต
ข้อห้ามใช้
- การทำงานไตลดลง( GFR < 35 )
- กระเพาะ หรือนั่งนานเกิน 30 นาทีไม่ได้
ผลข้างเคียง
- ระคายกระเพาะ
- ชนิดฉีด พบไข้ ปวดกระดูกกล้ามเนื้อได้ 30% 1-3 วัน ให้ paracet /NSAID ช่วยได้
- กระดูกขาหัก ( atypical femoral fracture ), ข้อต่อขากรรไกรเสื่อม osteoarthritis of Jaw) ให้ติดตามอาการและหยุดยาเมื่อไม่จำเป็นแล้ว
Denosumab
- RANKL inhibitor ผลยับยั้งการสร้าง ลดการทำงาน และทำให้เกิดการตายของเซล osteoclast
- ลดการหักกระดูกได้ทุกตำแหน่ง เริ่มเห็นผลที่ 1 ปีและคงประสิทธิภาพไปจนถึง 10 ปีที่รับยา
- 60 มก ฉีดชั้นใต้ไขมันทุก 6 เดือน
- ใช้เป็นทางเลือกคนที่เสี่ยงสูงแทน bisphosphonate หรือคนเสี่ยงสูงมากแทนยากลุ่มการสร้างกระดูก
- เน้นการฉีดยาตรงเวลาและหากหยุดยาเกิด rebound effect กระดูกบางรุนแรง
- ประเมินความเสี่ยงที่ 5 ปี
- เสี่ยงสูง ให้ยาต่อถึง 10ปีหรือเปลี่ยนยา
- เสี่ยงต่ำ รักษาต่อด้วย bisphosphonate โดย
- ได้ยาน้อยกว่า 2.5 ปี ให้ bisphosphonate กินหรือ zoledronic acid ฉีดต่อ 1-2 ปีและติดตาม bone turn over marker ทุก 3-6 เดือน BMD 1-2 ปี
- ได้ยาเกิน 2.5 ปี ฉีด zoledronic acid ที่ 6 เดือนหลังฉีดครั้งสุดท้ายและตาม bone turn over ที่ 3,6 เดือนหากสูงขึ้นแนะนำฉีดอีกครั้ง แต่ถ้าตรวจbone turn over ไม่ได้ให้ฉีด zoledronic acid ที่ 6 และ12 เดือนหลังหยุด
- ต้องให้แคลเซี่ยมและวิตามินดีเสริมอย่างเพียงพอ
- ผลข้างเคียงน้อยกว่ากลุ่ม bisphosphonate
Raloxifene
- Selective estrogen receptor moderation ( SERM ) ยับยั้งการสลายกระดูก
- ลดความเสี่ยงกระดูกสันหลังหักได้ แต่ส่วนอื่นไม่ได้ และลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้
- 60 มก ทานวันละ 1 เม็ด
- ใช้ในหญิงวัยหมดประจำเดือน ที่ lumbar T-score น้อยกว่า -2.5 และไม่เสี่ยงกระดูกส่วนอื่นหัก 3-5 ปี แล้วเปลียนเป็นยาตัวอื่น
- ใช้แทน bisphosphonate or denosumab
- ใช้ในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่เสี่ยงกระดูกพรุนและมะเร็งเต้านม
- ห้ามใช้คนมีประวัติ venous thromboembolism ระวังในคนที่ตับผิดปกติ ไม่ใช้กับฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือนต่างๆ อาจมี triglyceride สูงได้
- ควรหยุดยา 72 ชมก่อน immobilization
ฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน
- Estrogen ลดการสลายกระดูก
- ลดกระดูกหักในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่เคยมีกระดูกหักมาก่อนได้ทุกตำแหน่ง
- เป็นทางเลือกในหญิงวัยหมดประจำเดือน ไม่เกิน 10 ปีและอายุไม่เกิน 60
- ใช้ชะลอเสียมวลกระดูกในหญิงหมดประจำเดือนก่อนอายุ45 จนถึงอายุที่หมดประจำเดือนตามธรรมชาติ
- ไม่ควรใช้ในคนมีประวัติมะเร็งเต้านม( สัมพันธ์กับการใช้เอสโตรเจนแบบฮอร์โมนรวมเป็นเวลานาน และเสี่ยงลดลงเมื่อหยุดยา) เลือดออกผิดปกติ
- ทางช่องคลอด หลอดเลือดดำอุดตัน(เสี่ยงต่ำหากใช้ในคนอายุน้อยกว่า 60 ปี) โรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจ
Teriparatide
- Parathyroid Hormone กระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่
- ลดความเสี่ยงกระดูกหักได้ทุกตำแหน่ง
- 20 ไมโครกรัม ชั้นไขมัน วันละ 1 ครั้ง ไม่เกิน 2 ปี
- ใช้ในกลุ่มเสี่ยงสูงมาก อย่างน้อย 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี แล้วต่อด้วยยาต้านการสลายกระดูก
- ใช้ในคนที่ตอบสนองยา bisphosphonate ไม่ดีแม้ได้ยาแล้ว 2 ปีขึ้นไป
- ใช้แทน bisphosphonate or denosumab กรณีเกิด atypical femoral fracture โดยให้ยา 2 ปีกรณียังอยู่กลุ่มเสี่ยงสูง
- ห้ามใช้ใน osteosarcoma หรือมะเร็งลามมากระดูก หรือคนไข้มะเร็งหรือหายจากมะเร็งภายใน 5 ปี คนที่ได้ฉายรังสีกระดูก เด็กที่ growth plate ยังไม่ปิด คนที่ hypercalcemia
- Orthostatic hypotension ได้ หลังฉีด 2-3 ครั้งแรก ภายใน 4 ชม จึงแนะนำให้ฉีดยาท่านั่งหรือก่อนนอน
- แคลเซี่ยมในเลือดสูงขึ้นได้ 4 ชม หลังฉีดยาแบบชั่วคราว
Romosozumab
- แตกต่างยาอื่นคือมีผลกระตุ้นและยับยั้งการสลายกระดูก
- ลดการเกิดกระดูกหักได้ทุกตำแหน่งดีกว่า teriparatide
- 210 มก ชั้นใต้ไขมัน ท้อง ต้นขา ต้นแขน เดือนละครั้ง 1 ปี (ยา 105มก/1.17 มล ดังนั้นฉีด 2 เข็มต่อกันคนละตำแหน่ง)
- ใช้ในกลุ่มเสี่ยงสูงมาก ให้ 1 ปีแล้วต่อด้วยยาต้านการสลายกระดูก (ใช้ในคนที่ฉายรังสีกระดูกที่ foteo ให้ไม่ได้)
- ห้ามใช้ในคนกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหลอดเลือดสมองภายใน 1 ปีหรือหยุดยาทันทีที่ตรวจพบ
- ห้ามใช้ในคนที่แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ควรแก้ไข แคลเซี่ยมและวิตามินดีก่อนให้ยา
การรับยาไม่ได้ตามกำหนด
- หากได้แบบฉีดกให้แบบทานเป็นการชั่วคราวได้และพยายามกลับมาใช้ตัวเดิมให้เร็วที่สุด
- Zoledronic acid จับกระดูกได้นานดังนั้นชะลอการฉีดได้แต่ไม่ควรเกิน 6 เดือน
- Denosumab ชะลอได้ไม่เกิน 1เดือน หากเกิน 1เดื อนไม่ได้ยาควรให้ยาทานไปก่อนและควรรีบฉีดยาก่อน 7 เดือนเพราะมีรายงานกระดูกหักเพิ่ม
- Teriparatide ชะลอได้ไม่เกิน 3 เดือนหลังจากนั้นควรแทนด้วยยาทาน
- Romosozumab ชะลอได้ไม่เกิน 3 เดือน หากเกิน 3 เดือนและได้ยามาเกิน 6 เดือนให้ bisphosphonate ชั่วคราวหรือถาวรได้ แต่หากได้ยามาน้อยกว่า 6 เดือนให้ bisphosphonate ชั่วคราวและรีบกลับมาฉีดต่อ
บทความ โดย น.พ. ปรเมษฐ์ เจริญธนากร แพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง และระบบประสาท
-----------------------------------------------------------
โทรปรึกษาเบื้องต้น นัดหมายจองคิวรับบริการ
064-259 0302 , 097-214 3175
Line @mrccenter
Website : https://www.mrc.in.th/orthopedic-specialist-clinic
18, 74/56 ซอยนวมินทร์ 85 ถนนนวมินทร์ แขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ
Google map : https://maps.app.goo.gl/3ZhTe4NrNeRosrwy6